ทำอย่างไรเมื่อรู้ตัวว่าเป็นริดสีดวงทวาร? กลไกการเกิดริดสีดวงทวารหนัก ทวารหนักเป็นส่วนติดต่อมาจากลำไส้ใหญ่ และมาเปิดออกนอกร่างกายมีควมยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ถูกแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเส้นรอบวงที่เรียกว่า แนวเส้นประสาท (Dentate line) ส่วนที่อยู่สูงกว่าแนวเส้นประสาท เรียกว่า รูทวารหนัก (Anal canal) จะไม่มีเส้นประสาทรับความเจ็บปวดมาเลี้ยง ที่ผนังของรูทวารหนักปกติจะมีก้อนเนื้อนูนออกมาเป็นระยะโดยรอบ เรียกว่า เบาะรอง (Cushion) ซึ่งภายในมีกลุ่มเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยทฤษฎีใหม่ล่าสุดของการเกิดริดสีดวงทวารหนักนั้นเชื่อว่าการเบ่งอุจจาระมากๆ ภาวะท้องผูก ความดันจากการเบ่งที่สูงขึ้นและอุจจาระก้อนใหญ่จะดันให้เบาะรองเลื่อนลงมาเรื่อยๆ จนยื่นออกมานอกทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายใน (Internal hemorrhoid) ส่วนของทวารหนักที่อยู่ใต้ต่อแนวเส้นประสาท จะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง เรียกว่า ปากทวารหนัก (Anal margin) เมื่อเบาะรองจากบริเวณรูทวารหนักเลื่อนตัวลงมาเรื่อยๆ จนถึงปากทวารหนักก็จะดันกลุ่มส้นเลือดและเนื้อเยื่อของปากทวารหนักให้เลื่อนต่ำลงและเบียดออกด้านข้าง จนกลายเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายนอก ( External hemorrhoid ) อาการของโรคริดสีดวง ถ่ายเป็นเลือดสด มีก้อนยื่นออกมาจากทวารหนัก คันและระคายเคืองปากทวารหนัก จากเมือก ผนังลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ปวด โดยเฉพาะริดสีดวงภายนอก เนื่องจากการฉีกขาดของเส้นเลือดและเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก […] อ่านเพิ่มเติม
รากเทียมทางเลือกใหม่ของการใส่ฟัน รากเทียมเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดรากเทียม ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ 1. รากเทียม (Fixture) ทำมาจากโลหะไทเทเนียม มีรูปร่างคล้ายรากฟัน จะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร สามารถยึดติดกับกระดุกขากรรไกรได้โดยไม่ทำให้เกิดการอักเสบ และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ 2. แกนครอบฟัน (Abutment) เป็นส่วนที่ต่อขึ้นมาจากรากเทียม เพื่อรองรับครอบฟัน 3. ครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนที่เป็นตัวฟัน ทำจากโลหะ หรือเซรามิค มีรูปร่างลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติรากเทียมสามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ สามารถทำได้กับทุกคนที่สูญเสียฟันแท้ไป ขั้นตอนในการทำรากเทียม ขั้นที่ 1 ตรวจและประเมินสภาพฟัน ทันตแพทย์จะทำการตรวจและ X- Ray เพื่อประเมินสภาพของกระดูกขากรรไกรว่าเพียงพอต่อการฝังรากเทียมหรือไม่หาก ไม่เพียงพอ อาจต้องมีการปลูกกระดูกเพื่อให้มีปริมาณกระดูกที่เพียงพอต่อการรองรับราก เทียม ขั้นที่ 2 ฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร และรอประมาณ 3 -4 เดือน ให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกร และ มีความแข็งแรงเพียงพอ ขั้นที่ 3 ทำร่องเหงือก ทันตแพทย์จะทำการใส่ตัวทำร่องเหงือก (Gingival […] อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ด้วยการส่องกล้อง ปัญหาน้ำหนักตัวเกินในผู้ที่อ้วนมากๆ เมื่อใช้การลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ได้ผล ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง นั่นก็คือ การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันก็มีมากมายหลายวิธี แต่ที่ได้รับนิยมมากที่สุดจะเป็นการผ่าตัด 2 วิธีนี้ คือ การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastretomy) การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en Y Gastric bypass) เพราะนอกจากจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักได้ดีแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ และยังเป็นการผ่าตัดที่สามารถทำได้ด้วยวิธีส่องกล้อง ผู้เข้ารับการรักษาจึงจะมีแค่แผลขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว อีกทั้งไม่มีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ให้ต้องกังวล เมื่อไหร่ควรผ่าตัดกระเพาะ ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ควรผ่าตัดกระเพาะตามเกณฑ์ของสมาคมผ่าตัดโรคอ้วนและเมตาโบลิกแห่งประเทศไทย (Thailand Society for Metabolic & Bariatric Surgery : TSMBS) ได้แก่ ผู้ที่มี ≥ 37.5 kg/m2 ผู้ที่มี ≥ 32.5 kg/m2 และมีโรคร่วม ผู้ที่มี ≥ 30 kg/m2 และมีโรคร่วมทางเมตาโบลิก หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 บางประเภท […] อ่านเพิ่มเติม