ไขมันดี ไขมันเลว มีผลต่อหัวใจอย่างไรบ้าง?

ไขมันดี ไขมันเลว มีผลต่อหัวใจอย่างไรบ้าง?

คอเลสเตอรอล คืออะไร?

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง โดยทั่วไปแล้วเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลเองได้จากตับ แต่คอเลสเตอรอลที่มากเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

คอเลสเตอรอล คืออะไร

การสร้างคอเลสเตอรอลให้แก่ร่างกาย

มีทั้งหมด 2 แบบคือ ร่างกายสร้างเองและจากการรับประทานอาหาร
โดยปกติร่างกายของเรานั้นคอเรสเตอรอลสามารถสร้างเองได้จาก ตับ ไขสันหลัง สมองและผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้วันละ 80 – 1500 มิลลิกรัม ส่วนคอเรสเตอรอลที่สร้างจากการรับประทานอาหารนั้น พบได้จากอาหารที่มาจากสัตว์

ประเภทของคอเลสเตอรอล

การที่คอเลสเตอรอลจะมีผลดีหรือผลเสียต่อร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของไขมัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1. ไขมันดี (High-density Lipoprotein: HDL) คือ คอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ระดับไขมันที่ดีควรอยู่ที่ 40-60 mg/dl ซึ่งมีบทบาทในการลำเลียงคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ออกจากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อไปยังตับเพื่อขับออก ทั้งยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือด เนื่องจาก HDL ยังมีบทบาทในการยับยั้งออกซิเดชัน การอักเสบ และการแข็งตัวของเลือด การบริโภคไขมันดีอย่างเหมาะสมจึงช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ

แหล่งอาหารไขมันดี

2. ไขมันเลว (Low-density Lipoprotein: LDL) คือ คอเรสเตอรอลที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นไขมันที่ชอบจับตัวสะสมตามผนังหลอดเลือด หากมีมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ ความดันสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย

แหล่งอาหารไขมันเลว

การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด

คำแนะนำทั่วไปคือ ควรตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 35 ปีหรือควรตรวจทันทีในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน สูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวของโรคหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น

วิธีดูแลตนเองหากมีไขมันเลว (LDL) เกินค่ามาตรฐาน

รับประทานยาลดไขมันตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่น  เค้ก  คุกกี้ ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย มาการีน
รับประทานอาหารที่มีปริมาณใยอาหารสูง เช่น  ข้าวกล้อง เมล็ดธัญพืช ผักใบเขียว และแอปเปิล
ลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ปรึกษาแพทย์


    Related Health Blogs

    Related Doctors