“การตรวจฮอร์โมน” เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพโดยตรง

ฮอร์โมนในตัวเรานั้นมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างยิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างในกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวันล้วนแล้วแต่มีฮอร์โมนเป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น เมื่อฮอร์โมนเปลี่ยนไปก็ส่งผลโดยตรงกับสุขภาพ

ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร?

ความสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควรมีพื้นฐานที่ดีจากร่างกายที่สมดุล และจิตใจที่เบิกบานทั้งภายใน และภายนอก อายุเพิ่มมากขึ้นความเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็มากขึ้น รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่เคร่งเครียด นอนดึก ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ นำไปสู่การเสียสมดุลฮอร์โมนต่างๆ
ฮอร์โมน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ โดยต่อมไร้ท่อแต่ละชนิดจะสร้างฮอร์โมนที่แตกต่างกัน แยกกันทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนได้ลดลงจนอาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากต่อมไร้ท่อทำงานลดลง จึงทำให้ร่างกายทำงานได้ผิดปกติ และเกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

ต่อมไร้ท่อกับฮอร์โมนเพศ

ต่อมไร้ท่อที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย ที่แบ่งแยกเพศอย่างชัดเจนจะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. เพศหญิง รังไข่ จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง Estrogen และ Progesterone ซึ่งช่วยในเรื่องของการมีรอบเดือน การตั้งครรภ์หรือการมีบุตร สภาพของผิวพรรณ ความเต่งตึง ชุ่มชื้น ทั้งยังช่วยควบคุมเรื่องของอารมณ์ไม่ให้แปรปรวนง่าย รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง ไม่อ่อนเพลีย รับมือกับความเครียดได้ดี มีความจำดี นอนหลับสนิท ช่วยสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันโรคหัวใจ และป้องกันโรคกระดูกพรุน
  2. เพศชาย ต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ก็คือ อัณฑะ ฮอร์โมนเพศชายนี้จะช่วยทำให้รูปร่างของผู้ชายกำยำล่ำสัน มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ เสียงห้าว มีการตัดสินใจที่เฉียบขาด มีความเป็นผู้นำ ชอบการแข่งขัน ความจำดี อารมณ์ไม่แปรปรวนง่าย และทำให้มีความต้องการทางเพศเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์

เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลก่อให้เกิดภาวะอื่นตามมาได้…

เมื่อระดับฮอร์โมนไม่สมดุลอาจก่อให้เกิดภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกายได้ เช่น การเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นภายในร่างกายลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนและยังสามารถส่งผลต่อปัญหาผิวพรรณซึ่งทำให้ผิวแห้งกร้าน เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่ายแลดูแก่กว่าวัย นอกจากนี้ยังเพิ่มภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติทำให้นอนหลับยากขึ้นหรือนอนหลับไม่สนิท ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ความจำเสื่อม ความต้องการทางเพศลดลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

ฮอร์โมนไม่สมดุล แก้ยังไง?

ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย จะทำให้คุณภาพชีวิตของหลาย ๆ คนแย่ลง การให้ฮอร์โมนทดแทนจะช่วยให้การทำงานของร่างกายกลับมาใกล้เคียงกับเมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มเป็นสาวได้ เช่น มีความจำดีขึ้น มวลกระดูกหนาแน่นขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง และไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถรับฮอร์โมนทดแทนได้
การตรวจระดับฮอร์โมน ในร่างกายจึงจัดได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งนี้เพื่อใช้ประเมินอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายว่าสอดคล้องกับความผิดปกติของระดับฮอร์โมนมากน้อยแค่ไหน แพทย์จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ

ใครที่ควรตรวจฮอร์โมน?

  1. อายุ 25 ปีขึ้นไป เพราะระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยนี้ และเมื่อความสมดุลของฮอร์โมนเสียไปก็อาจก่อให้เกิดภาวะหรืออาการผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระดับฮอร์โมนได้
  2. ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการลดลงของฮอร์โมนในร่างกายได้เร็วกว่าปกติ
  3. ผู้ที่มีการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เพราะคุณภาพการนอนหลับนั้นจะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและทำให้สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกายเสียไป
  4. ผู้ที่มีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ ได้แก่ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือพร่องวิตามิน ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม

เราสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

การเพิ่มระดับฮอร์โมนภายในร่างกายสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมทางด้านสุขภาพให้เหมาะสม

  1. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะกลุ่มไขมันทรานซ์ เลือกรับประทานไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในกลุ่มโอเมก้า 3-6-9 เน้นการบริโภคเมล็ดธัญพืช ผัก และผลไม้ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มเส้นใยอาหาร
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้ได้อย่างน้อย 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ใช้เวลาประมาณครั้งละ 30-40 นาที
  3. ดื่มน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน
  4. พักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
  6. พบแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับความสมดุลของฮอร์โมน

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน เป็นการตรวจสมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพื่อประเมินความผิดปกติของเหล่าอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นก่อนการเกิดโรค ทั้งระบบเผาผลาญ การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การควบคุมอารมณ์ ความเครียด ความรู้สึกทางเพศ และการเจริญพันธุ์ เพื่อหาแนวทางการปรับให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุลอีกครั้ง


ปรึกษาแพทย์


    Related Health Blogs

    Related Doctors