ปัจจุบัน โรคมะเร็งยังคงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย และคนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก คาดว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 45% ในปี 2573 ผู้ป่วยกว่า 70% มักตรวจพบมะเร็งในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นเรื่องยาก และซับซ้อน ทำให้โอกาสรอดชีวิตลดลง ในขณะที่การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ 90-95%
เพราะมะเร็งไม่รอให้คุณพร้อม การตรวจพบเร็ว คือ โอกาสรอดที่ดีที่สุด
ตรวจก่อน รู้ก่อน เพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็ง
มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้จากสารพันธุกรรมที่เซลล์มะเร็งปล่อยออกมาในกระแสเลือด การตรวจใช้เทคโนโลยี Next-generation sequencing เพื่อตรวจวิเคราะห์ชิ้นส่วน DNA ของเซลล์มะเร็งที่หลุดออกมาในเลือด หรือ Circulating Tumor DNA (ctDNA) วิธีนี้สามารถตรวจจับการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิดพร้อมกัน เมื่อวิเคราะห์ร่วมกันจะช่วยระบุว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดใด และอยู่ในระดับที่ควรเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เป็นการคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในผู้ที่ยังไม่มีอาการแสดง
ทำไมต้องเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งด้วย SPOT-MAS ?
1.เป็นวิธีการตรวจที่ง่าย และเจ็บตัวน้อย เนื่องจากเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้หลายชนิดพร้อมกัน
2.ไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ หรือรุกล้ำเข้าไปในร่างกาย
3.มีความแม่นยำ โดยมีความจำเพาะ 95.9% ความไว 78.1%
4.รู้ผลภายใน 30 วัน
ตรวจหามะเร็งครอบคลุมได้ถึง 10 ชนิด
SPOT-MAS สามารถตรวจจับความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งได้ครอบคลุมถึง 10 ชนิด ได้แก่:
1. มะเร็งตับ และท่อทางเดินน้ำดี
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งเต้านม
4. มะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง
5. มะเร็งกระเพาะอาหาร
6. มะเร็งตับอ่อน
7. มะเร็งรังไข่
8. มะเร็งหลอดอาหาร
9. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
10. มะเร็งศีรษะ และลำคอ
ใครควรตรวจ SPOT-MAS ?
1. SPOT-MAS สามารถคัดกรองได้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยเป็นมะเร็งหรือไม่มีอาการต้องสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
2. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงมะเร็งชนิดต่าง ๆ โดยเป็นช่วงอายุที่ WHO แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็ง แม้ไม่มีอาการใด ๆ เช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์ระยะเริ่มต้น
3. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
4. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่สัมผัสสารก่อมะเร็งหรืออยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง อาทิ ฝุ่น PM2.5
5. ผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป
สัญญาณ และอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็ง
ผู้ที่มีสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งต่อไปนี้ ไม่ควรเข้ารับการตรวจ
1. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วอย่างน้อย 6 กิโลกรัมใน 6 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ
2. มีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาเป็นเวลานาน และปวดบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล
3. มีอาการไอต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล
4. มีเลือดออกผิดปกติหรือมีของเหลวออกมาจากหัวนม
5. การทำงานของลำไส้มีความผิดปกติเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ขึ้นไป เช่น ท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
การตรวจหาสารมะเร็งพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง อาจไม่สามารถระบุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะเกิดโรคมะเร็งกับผู้เข้ารับการตรวจหรือไม่ แต่สามารถบอกได้ว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการตรวจนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถนำไปใช้วางแผนการดำเนินชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้